ข้อดีของการเช็คระยะรถยนต์ตามกำหนด
รถยนต์ทุกคันเมื่อผ่านการใช้งานมาระยะหนึ่งแล้ว จำเป็นจะต้องนำรถเพื่อไปตรวจสภาพและบำรุงรักษา หรือเรียกให้ถูกต้องคือ การเช็คระยะ ซึ่งหลายคนมักจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และนำรถเข้าตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอ เรื่องการตรวจเช็คระยะรถตามที่กำหนดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพราะไม่เพียงแค่ช่วยยืดอายุการใช้งานแต่ยังทำให้รู้ปัญหาก่อนที่จะเกิดขึ้นได้อีกด้วย
เช็คระยะรถยนต์ คืออะไร?
การเช็คระยะรถยนต์ เป็นการบำรุงรักษาเพื่อช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของรถยนต์หลังใช้งาน และเป็นการตรวจสอบสภาพรถยนต์มากกว่าปกติ เช่น การตรวจลมยาง ตรวจเช็คแบตเตอรี่ หรือตรวจเช็คความสว่างของไฟ สำหรับช่วงที่ต้องนำรถเข้าไปเช็คระยะจะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. นับจากระยะเวลา (เริ่มตั้งแต่วันออกรถ)
2. ดูจากระยะทาง (เลขไมล์ที่วิ่งใช้งานไป)
ซึ่งหากผู้ขับขี่มีการใช้งานรถน้อยก็ให้คิดจากระยะเวลา แต่หากใช้รถเป็นประจำก็ให้คิดตามระยะทางที่ใช้งาน
เช็คระยะรถยนต์ เช็คตรงส่วนใดบ้าง?
การเช็คระยะรถยนต์แต่ละครั้งจะทำการตรวจสอบและปรับเปลี่ยนอะไหล่ต่าง ๆ เพื่อให้รถอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และเหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด ดังนี้
1. เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง สิ่งแรกที่ต้องทำในการตรวจเช็คระยะแต่ละครั้ง ซึ่งการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตรงตามกำหนดจะช่วยให้เครื่องยนต์สะอาด ลดการสึกหรอและช่วยหล่อลื่นการทำงานของชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้ทำงานได้
2. เช็คไส้กรองระบบต่าง ๆ การตรวจสอบสภาพไส้กรอง ไม่ว่าจะเป็นไส้กรองอากาศ กรองอากาศแอร์ กรองน้ำมันเชื้อเพลิง ควรเปลี่ยนตามระยะที่กำหนด โดยรถในแต่ละรุ่นนั้นจะมีระยะเวลาที่ไม่เท่ากัน แต่ถ้าปรับเปลี่ยนแล้วจะช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ตรวจสอบระดับของเหลวต่าง ๆ ระดับของเหลวที่อยู่ในระบบของเครื่องยนต์ควรจะอยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเกียร์ น้ำมันเฟืองท้าย น้ำมันเบรก น้ำมันพวงมาลัยเพราเวอร์ น้ำยาหม้อน้ำ น้ำยาฉีดล้างกระจก
4. ยางปัดน้ำฝนอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน เวลาที่เปิดใช้งานที่ปัดน้ำฝน ใบยางที่ก้านนั้นจะต้องรีดน้ำบนกระจกได้อย่างสะอาด เพราะถ้าชำรุดจะทำให้รีดน้ำไม่ดี ส่งผลต่อทัศนวิสัยในการมองเห็นของคนขับจึงควรเปลี่ยนยางปัดน้ำฝนอย่างน้อยปีละครั้ง
5. ระบบไฟส่องสว่างต้องพร้อม เช็คระบบไฟส่องสว่างว่ายังใช้งานได้ดีไหม เพราะการทำงานของสัญญาณไฟต่าง ๆ ถ้ามีความพร้อมในการใช้งาน
6. กำลังไฟในแบตเตอรี่ต้องเต็ม แบตเตอรี่จะถูกเปลี่ยนเมื่อสตาร์ทรถไม่ติด แต่สามารถตรวจสอบได้ว่าแบตเตอรี่มีกำลังไฟที่อ่อนหรือไม่
7. สายพรานต้องไม่หย่อนและยาน สายพานของเครื่องยนต์นั้นมีการเสื่อมสภาพไปตามระยะทางที่ใช้งานซึ่งอาจทำใ้ห้เกิดเสียงดังหรือขาดระหว่างการขับขี่
8. เช็คระบบเบรก เพื่อตรวจสภาพและความหนาของผ้าเบรกว่าใกล้หมดอายุแล้วหรือไม่ ในการตรวจสอบนั้นผ้าเบรกควรเปลี่ยนเมื่อความหนาของผ้าเบรกอยู่ที่ 3 มิลลิเมตร หรือต่ำกว่านั้น นอกจากนี้จะมีการตรวจสอบรอยรั่วซึมของท่อทางน้ำมันเบรก
9. ยางรถยนต์ต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ยางรถยนต์นั้นจะต้องมีความลึกของร่องดอกยางมากกว่า 3 มม.เนื้อยางต้องไม่มีร่องรอยการฉีดขาด และควรปรับแรงดันยางมาตรฐานกำหนด
10. ทำการสลับยางและถ่วงล้อ ในการสลับยางต้องสลับยางจากด้านหน้าไปไว้ด้านหลัง และปรับความสมดุลของล้อและยางด้วยการถ่วงล้อ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยยืดอายุการใช้งานของยางให้นานขึ้น
11. ตรวจเช็คช่วงล่างและระบบบังคับเลี้ยว โดยช่างจะทำการตรวจสอบการรั่วซึมของระบบช่วงล่าง ทั้งในส่วนของโช้คอัพ ลูกหมาก ลูกปืนล้อ ยางหุ้นเพลา
ข้อดีของการเช็คระยะรถยนต์
การนำรถเข้าเช็คระยะตามกำหนดที่เหมาะสมจะมีส่วนช่วยยืดอายุการทำงานของรถยนต์ เนื่องจากการใช้งานรถทุกวันทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ อาจทำให้อะไหล่สึกหรอจนส่งผลต่อระบบอื่นๆ ดังนั้น การตรวจเช็คจึงช่วยให้เรารู้ว่ามีระบบไหนที่เริ่มเสื่อม ต้องทำการเปลี่ยนอะไหล่หรือการซ่อมบำรุง
นอกจากนี้การเช็คระยะรถยนต์ยังช่วยให้ประหยัดน้ำมันและค่าซ่อมแซมที่อาจบานปลายหากตรวจพบอาการเสื่อมสภาพหรือสึกหรอช้าเกินไป
เช็คระยะรถยนต์ การตรวจเช็คระยะรถยนต์โดยการนำรถเข้าไปเช็คจะต้องเข้าตามหลักกิโลเมตร หรือตามระยะเวลาขึ้นอยู่ว่าแบบไหนถึงก่อนกัน
ระยะเวลาประมาณ 1 - 6 เดือน หรือทุกๆ 5,000 กิโลเมตร
ระยะเวลาประมาณ 6 - 12 เดือน หรือทุกๆ 10,000 กิโลเมตร
ระยะเวลาประมาณ 12-24 เดือน หรือทุก ๆ 20,000 กิโลเมตร
ระยะเวลาประมาณ 12-24 เดือน หรือทุก ๆ 40,000 กิโลเมตร
ระยะไม่เกิน 60 เดือน (5 ปี) หรือ 100,000 กิโลเมตรขึ้นไป
Cr. ยิ้มได้ประกันภัย