บทความ

ระบบเบรครถยนต์ มีปัญหาทำยังไง

ระบบเบรครถยนต์ มีปัญหาทำยังไง

ระบบเบรครถยนต์ มีปัญหาทำยังไง

1. เบรคมีเสียงครูด เสียงแหลมดัง

เบรคเกิดอาการเสียงดังในขณะที่เบรครถ ส่วนใหญ่สาเหตุมาจากผ้าเบรคหมด จนทำให้เหล็กผ้าเสียดสีกับจานเบรค หรือจานเบรคเป็นรอยเพราะฝุ่นจับ รวมไปถึงเศษหินที่หลุดเข้าไปข้างใน ทำให้เบรครถเกิดปัญหา ถึงขั้น ต้องเจียจานเบรคใหม่ อย่างไรก็ตามหากเช็คแล้วว่าทั้งผ้าเบรคและจานเบรคยังคงคุณภาพดีทั้งคู่ โปรดจงรู้ไว้เลยว่าเสียงดังนั้นอาจเกิดจากผ้าเบรคที่ไม่ได้มาตรฐานนั่นเอง ต้องรีบเปลี่ยนโดยด่วนเลยครับ


2. ขณะเบรครถยนต์เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง

ในขณะที่เท้าของคุณแตะเหยียบเบรคอยู่นั้นกับพบว่ารถยนต์ของคุณกำลังเหวี่ยงไปทางซ้าย หรือเอียงขวาบ้าง อาการปัดเอียงนั้นบ่งบอกว่าเบรครถกำลังมีปัญหา หากเอียงไปทางซ้าย หมายความว่าระบบเบรคกำลังรวนให้ตรวจสอบระบบเบรคทางด้านขวา โดยอาจเกิดจากคราบน้ำมันหรือสารหล่อลื่นของเครื่องยนต์ช่วงล่างกระเด็นมาโดนจานเบรค จนทำให้ผิวลื่นมันและความฝืดลดลง หรือเกิดจากประสิทธิภาพการสึกหรอของชุดคาลิปเปอร์เบรคที่มีแรงกดในแต่ละฝั่งแตกต่างกัน


3. ขณะเบรคแป้นเกิดอาการสั่น

เบรคสั่น ในขณะที่เหยียบเบรค แป้นเบรคเกิดอากาสั่นขึ้น - ลง หากเบรคสั่นมากอาจจะรับรู้ถึงแรงสั่นได้ถึงพวงมาลัย หรือเวลาเหยียบเบรคทีแต่เกิดอาการรถสั่นไปทั้งคัน สาเหตุจากจานเบรคเกิดการคดบิดตัว เนื่องจากถูกใช้งานรุนแรงกินไป หรือกรณีที่รถผ่านการลุยน้ำ (จานเบรคที่ร้อนจัด เวลาเจอน้ำมักจะบิดตัวได้ง่าย) ลูกปืนล้อหลวม น็อตล้อหลวม ผ้าเบรคสึกหรอไม่เท่ากัน อาการนี้เกิดได้ทั้งระบบดิสเบรคและดรัมเบรค


4. เบรคแข็งต้องใช้แรงมากกว่าปกติ

อาการแบบนี้เรียกกันว่า เบรคตื้อ คือ เวลาเหยียบเบรคแล้วเบรคไม่ค่อยอยู่ เกิดอาการเบรคแข็ง ต้องออกแรงเหยียบมาก ๆ โดยลักษณะของเบรคตื้ออาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น แรงดูดสูญญากาศของหม้อลมน้อย เนื่องจากปั้มดูดไดชาร์จเสียหรือผ้าในหม้อลมรั่ว วาล์ว PVC หรือ Combo Vale เสีย หรือสายลมรั่ว


5. แป้นเบรคต่ำต้องเหยียบเบรคลึกมาก เบรคถึงทำงาน

เรียกอาการแบบนี้ว่า เบรคต่ำ เวลาที่เหยียบเบรค แป้นเบรคจะจมลงต่ำกว่าปกติ เมื่อเหยียบค้างไว้เบรคค่อย ๆ จมลง สาเหตุเกิดจากลูกยางแม่ปั้มเบรคบนสึกหรอหรือบวม จึงทำให้แรงดันเบรคลดลง จนต้องออกแรงเบรคมากขึ้น บางครั้งต้องเหยียบเบรคซ้ำ ๆ กัน หลาย ๆ ทีก็มี


6. เบรคทำงานทันทีเมื่อเหยียบเพียงเล็กน้อย

เหยียบแป้นเบรคเพียงเล็กน้อยแล้วรถหยุดทันทีแบบทันที คือ เบรคทำงานเร็วเกินไป


สาเหตุหลักที่ทำให้เบรคมีปัญหา

1. เกิดการรั่วของน้ำมันเบรค เช่น สายอ่อนเบรคแตก ท่อแป๊ปเบรคแตก หรือน้ำมันเบรครั่วซึมเป็นเวลานาน ลูกยางแม่ปั้มเบรคและแม่ปั้มเบรคเก่า เกิดการเสียหายจนน้ำมันเบรครั่วออกมา

2. ผ้าเบรคหมด บ่อยครั้งที่ผ้าเบรคหมดนาน ๆ แต่ไม่ได้รับการเปลี่ยน จนทำให้หลุดออกมาจากฝักก้ามปูเบรค และถ้าหากลูกสูบผ้าเบรคหลุด เบรคก็จะแตกทันที

3. ส่วนประกอบในระบบเกิดการหลุดหลวม เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น สากแป้นเบรค (ที่ตั้งได้ไขไม่แน่นหลุดเกลียว หรือไม่ได้ใส่สลักล็อค) น็อตยึดขาเบรคหลุด ฝักเบรค หรือคาลิปเปอร์เบรคยึดไม่แน่น ร่วมไปถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ในระบบเบรคประกอบกันไม่แน่นจนหลุดออก

4. สายอ่อนเบรคแตก สายอ่อนที่ใช้งานมานานจะเกิดอาการบวม แม้ภายนอกอาจมองไม่เห็นสิ่งผิดปกติแต่เมื่อขับรถและเหยียบเบรคกลับจะเกิดการพองตัวเหมือนลูกโป่ง ซึ่งถือว่าอันตรายมาก หากเหยียบเบาๆ แรงดันน้ำมันเบรคต่ำ อาจจะไม่เกิดอะไร แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์ขับคัน จนต้องเบรคแรง ๆ สายอ่อนเบรคจะไม่สามารถรับแรงดันไหวและแตกออกมา ทำให้รถเกิดอันตรายได้


การดูแลรักษาระบบเบรค และข้อควรระวัง

1. ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องปีละครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบเบรคเกิดสนิม

2. น้ำมันเบรค ควรใช้ให้ตรงกับมารตราฐานที่ผู้ผลิตกำหนด เช่น DOT3 จะไม่สามารถนำน้ำมันเบรค DOT อื่นมาผสมได้ หรือนำน้ำมันอื่นมาเติมแทน เพราะจะทำให้ลูกยางเบรกเกิดอาการบวมได้

3. การเช็คระยะห่างผ้าเบรคในระบบดรั้มเบรค ระยะห่างระหว่างผ้าและจานเบรคที่มากขึ้น จะสังเกตได้จากการเหยียบเบรคจะต่ำลงและการดึงเบรคมือที่สูงขึ้น

4. ระดับน้ำมันเบรคลดต่ำลง ควรถอดจานเบรคออกมาทำความสะอาดและปัดฝุ่น จากนั้นจึงจัดให้ระยะผ้าเบรคให้ชิดขึ้น โดยใช้ไขควงเขี่ยเฟืองตั้งให้หมุนตามฟันตั้ง ส่วนด้านหลังจานเบรคใส่ล้อไขแล้วหมุนให้แน่น

5. การตรวจสอบผ้าเบรค ผ้าเบรคถือว่าเป็นส่วนที่สึกหรอได้ง่าย เนื่องจากเกิดการเสียดสีบ่อยครั้ง รวมไปถึงฝุ่นเกาะเกรอะกรัง ดังนั้นจึงควรถอดออกมาเช็ดเป็นประจำ

6. การเจียรจานเบรค การใช้ผ้าเบรคที่มีโลหะผสมอยู่ ปรอะกอบด้วยฝุ่น หิน และการปล่อยให้ผ้าเบรคหมด จะทำให้จานเบรคเกิดเป็นรอย และการขับรถลุยน้ำในขณะที่จานเบรคกำลังร้อน จานเบรคจะเกิดการคดหรือบิดตัว ต้องรีบทำการเจียรจาน ซึ่งทำได้ทั้งหมด 2 วิธี คือ การถอดจานเบรคมาเจียรด้วยเครื่องเจียรจาน และการใช้เครื่องเจียรจานแบบประชิดล้อ

7. การล้างและเปลี่ยนชุดซ่อมเบรค เบรคเป็นส่วนที่ถูกใช้งานบ่อยครั้ง ควรได้รับการเปลี่ยนชุดซ่อมอย่างน้อย 2 - 4 ปีต่อครั้ง เช่น ลูกยางแม่ปั้มเบรค ลูกยางลูกสูบเบรค และยางกันฝุ่น  ส่วนรถที่ถูกนำไปลุยน้ำมาต้องรีบตวรจสอบทันที เพราะน้ำที่หลุดรอดเข้าไปในกระบอกเบรคและแม่ปั้มเบรค จะทำลายลูกสูบเบรคทำให้เกิดสนิม เป็นตามด และทำให้เกิดอาการเบรคติด หรือน้ำมันเบรครั่วซึม หากรถของคุณมีลูกยางกันฝุ่นที่เก่าใกล้หมดสภาพล่ะก็ มันจะไม่สามารถกันน้ำและฝุ่นได้เลย

 

Cr. Toyota K Motors

CallAction