9 โรคประจำตัวที่มีผลต่อการขับรถ
โรคต้องห้ามในการขับรถ เพราะจะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุออย่างรุนแรง
การดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน และมีแนวโน้มในการเลือกใช้รถยนต์ในการเดินทางยังมีเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย แต่รู้หรือไม่ว่าอัตราความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากรถยนต์นั้น ไม่ได้มาจากความประมาทของผู้ขับขี่เพียงแค่อย่างเดียว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้
รู้กันหรือไม่ว่ามีโรคที่สามารถทำให้ผู้ที่เป็น เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ จึงไม่ควรขับรถเด็ดขาด โดยกรมควบคุมโรค ได้เปิดเผย 9 กลุ่มโรคที่เสี่ยงในการจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ไม่ควรให้ขับรถเด็ดขาด โดยที่ระบุเป็นกฎหมายโรคต้องห้ามขับรถ นั้น ยังมีความไม่ครอบคลุมเพียงพอ ทั้งโรคที่เกี่ยวกับระบบการมองเห็น การได้ยิน ระบบประสาท และโรคหัวใจ หรือโรคเรื้อรัง โดยมีการระบุโรคไว้ดังนี้
1. โรคที่เกี่ยวกับสายตา ต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม โรคเหล่านี้จะทำให้การมองเห็นในช่วงเวลากลางคืนนั้นไม่ชัด สำหรับคนที่เป็นต้อหินนั้น จะทำให้การมองเห็นมุมมองของสายตานั้นจะแคบลง ทำให้มองเห็นภาพบริเวณรอบๆได้ไม่ดี รวมถึงการมองเห็นแสงไฟบอกทาง หน้าไฟหน้ารถที่พล่ามัวได้อีกด้วย
2. โรคทางสมอง โรคทางสมองที่ยังเป็นไม่มากอย่างอาการหลงลืม โดยการขับขี่รถยนต์นั้นหากมีอาการหลงลืม นอกจากจะทำให้ลืมเส้นทางแล้วนั้นอาจจะทำให้ระบบสมาธิมีปัญหาจนทำตัดสินใจเร่งด่วนได้ยากลำบาก เพราะบางทีสมาธิในการขับรถนั้นก็อาจจะมีน้อยลงด้วย
3. โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดในสมอง ทำให้แขนขานั้นไม่มีแรงขับรถ หรือ เหยียบคันเร่ง เหยียบเบรก บางคนนั้นอาจมีการเกร็งและชักกระตุก หรือ ขากระตุก ส่งผลต่อการเหยียบเบรกหรือเหยียบคันเร่ง บางคนประสานงานแขนกับขาได้ไม่ดีหรือระบบสมองอาจสั่งการได้ไม่ดีเช่นเดิม และความไวของการตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ลดลงอีกด้วย
4. โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่มีอาการเกร็ง มือสั่น เท้าสั่น ทำอะไรช้าลง ทำให้ขับรถได้ไม่ดี เป็นโรคที่ผู้ป่วยนั้นเกิดอาการทางระบบประสาท ทั้งการเคลื่อนไหวช้า อาการสั่น มักจะสั่นขณะอยู่เฉยๆ แต่หากขยับตัวนั้นการสั่นก็จะลดลง แต่ก็ถือว่าเป็นความเสี่ยงพอสมควรสำหรับการขับขี่รถ
5. โรคลมชัก จะเป็นโรคที่จะมีอาการเกร็งชัก และกระตุกโดยที่ไม่รู้สึกตัว โดยเป็นโรคที่สามารถเกิดได้กับผู้คนทุกเพศทุกวัย ซึ่งอาจเกิดมาจากหลากหลายสาเหตุ เกิดจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าในสมอง หากถูกกระตุ้นมากไปก็จะทำให้เกิดอาการชักได้ โดยแต่ละครั้งที่เกิดอาการชักนั้นจะขึ้นอยู่กับว่าสมองส่วนไหนที่ถูกกระตุ้น
6. โรคไขข้อ ข้อเสื่อม ข้ออักเสบต่าง ๆ โรคเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อการขับรถโดยตรง หากการเจ็บปวดเกิดขึ้นจะทำให้เราไม่สามารถใช้ร่างกายของเราได้อย่างเต็มที่ หรือการขยับตัวลำบาก หรือไม่สามารถนั่งขับรถแบบนานๆ ได้
7. โรคหัวใจ โรคหัวใจนั้นเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก หรือ แน่นหน้าอกได้ เมื่อต้องขับรถนานๆ หรือ สภาพความเครียด ความกดดันจากรถติด หรือปัญหาการจราจร
8. โรคเบาหวาน โรคเบาหวานจะทำให้ผู้ป่วยนั้น มีอาการหน้ามืด ใจสั่น สมาธิไม่ดี ตาพร่า และน้ำตาลในเลือดนั้นมีปริมาณต่ำลง จะทำให้ความสามารถในการขับขี่นั้นลดตามลงไปด้วย
9. การทานยา การทานยาก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เพราะยาบางตัวนั้นอาจจะไม่ได้มีหรือเป็นโรคขั้นต้นที่กล่าวมาแต่อาจมีการทานยาในปริมาณมาก ยาบางชนิดอาจมีผลทำให้ง่วงซึมหรือง่วงนอน และอาจจะทำให้มึนงงและสับสนเวลาขับรถ ไปจนถึงการตัดสินใจต่าง ๆ และสมาธิในการขับรถก็ลดลงไปด้วย
โดยโรคเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นโรคที่มีความเสี่ยงต่อการตัดสินใจ และเป็นโรคที่ส่งผลต่อสภาพร่างกายโดยตรงทั้งนั้น ทำให้ความสามารถในการขับขี่รถยนต์นั้นมีน้อยลง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ว่า หากมีโรคประจำตัวต่าง ๆ หรือโรคที่มีความเสี่ยงอย่างโรคข้างต้นนั้น ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่รถยนต์จะดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยของตัวเราและผู้ร่วมทางนั่นเอง