M-FLOW คืออะไร จำเป็นต้องจ่ายไหม ??
M-Flow เป็นระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการจราจรบนทางด่วนและมอเตอร์เวย์ ด้วยการทำงานของระบบตรวจบันทึกป้ายทะเบียนรถด้วยความเร็วได้ถึง 120 กม.ต่อชั่วโมง โดยระบบอนุญาตให้ทั้งรถยนต์ 4 ล้อ รถยนต์ 6 ล้อ และรถยนต์มากกว่า 6 ล้อขึ้นไปผ่านทางได้
วิธีการชำระค่าธรรมเนียมหลังการใช้บริการทางด่วน M-Flow หากเราเป็นสมาชิกอยู่แล้วสามารถชำระผ่านเว็บไซต์หรือโมบายแอพพลิเคชันของระบบ M-Flow ตลอดจนการชำระด้วยระบบ QR Code และการชำระผ่านระบบตัดเงินอัตโนมัติ แบ่งเป็นชำระรายครั้งหรือชำระตามรอบบิลได้โดยจะไม่เสียค่าปรับเพิ่มเติม
กรณีไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก M-Flow หรือ เช่ารถขับเอง
จากผู้ประกอบการ ห้าง ร้าน บริษัท ให้เช่ารถยนต์ขับเอง และได้ผ่านทางด่วน M-Flow แบบไม่มีไม้กั้น สามารถแจ้งกับทางร้านที่เรา เช่ารถ ก่อนได้ เพราะหากเกินระยะเวลาที่กำหนดชำระบิลเราจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มมากถึง 10 เท่า หรือหากกังวลว่าอาจจะมียอดค้างอยู่แล้วก่อนรับรถ เราก็สามารถตามยอดทะเบียนรถเองได้เลย โดยตรวจสอบได้ที่ www.mflowthai.com แต่ไม่อยากเสียค่าปรับ 10 เท่า เราสามารถชำระบิลได้ในวันถัดไป หรือไม่เกิน 7 วันหลังผ่าน M-Flow แต่ทั้งนี้ก็ยังมีข้อแม้เล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับรถป้ายแดง ป้ายทะเบียนไม่ชัดเจน หรือไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน ห้ามเข้าใช้ระบบ M-Flow โดยเด็ดขาด
ทางด่วน M-Flow มีที่ไหนบ้าง?
ทางด่วนพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 9 (วงแหวนบางปะอิน-บางพลี) มี 4 ด่านดั้งนี้
1. ด่านธัญบุรี 1
2. ด่านธัญบุรี 2
3. ด่านทับช้าง 1
4. ด่านทับช้าง 2
M-Flow สมัครผ่านช่องทางไหนได้บ้าง สำหรับการสมัครสมาชิก M-FLOW นั้น สามารถสมัครได้ผ่าน 4 ช่องทาง ดังนี้
- เว็บไซต์ www.mflowthai.com
- แอปพลิเคชั่น Mflow
- จุดบริการของกรมทางหลวง
- ไลน์แอด @mflowthai
ขั้นตอนการสมัคร M-Flow
1. ยืนยันตัวตน
1.1 ให้ยืนยันตัวตนด้วยเบอร์โทรศัพท์มือถือ และกรอก OTP
2. กรอกข้อมูลส่วนตัว
2.1 กรอก E-mail และรหัสผ่าน
2.2 กรอกข้อมูลส่วนตัว ชื่อ สกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน รายละเอียดผู้ขับขี่
2.3 อัปโหลดรูปหน้าคู่กับบัตรประชาชน
2.4 ยืนยัน OTP ที่ได้รับทาง E-mail
3. กรอกที่อยู่
3.1 กรอกที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
3.2 กรอกที่อยู่ปัจจุบัน
4. ลงทะเบียนรถ
4.1 ระบุความเป็นเจ้าของรถ
4.2 ประเภทป้ายทะเบียนรถ
4.3 รายละเอียดของตัวรถ อาทิ ประเภท ยี่ห้อ สี
4.4 อัปโหลดรูปถ่ายเล่มทะเบียนรถ และรูปรถ ด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลังรถ
5. เลือกวิธีการชำระเงิน
5.1 วิธีการชำระเงินแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
5.2 ชำระเป็นรายครั้ง (ผ่านบัตรอัตโนมัติ 5 ประเภท)
- บัตรเครดิต
- บัตรเดบิต
- ผ่านบัญชีธนาคาร
- M-Pass
- Easy Pass
5.3 ชำระตามรอบบิล ทุกวันที่ 1 และวันที่ 16 ของเดือน (ผ่านบัตรอัตโนมัติ 3 ประเภท)
- บัตรเครดิต
- บัตรเดบิต
- ผ่านบัญชีธนาคาร
จ่ายเงิน M-FLOW ไม่เป็นสมาชิก ทำอย่างไร?
- ค้นหายอดชำระค่าผ่านทาง ได้ที่ www.mflowthai.com
- เข้าไปที่เมนูและเลือก วิ่งผ่านทาง M-Flow แต่ไม่ใช่สมาชิก
- กรอกเลขทะเบียน และจังหวัดของรถ
- ระบบจะรวบยอดชำระค่าผ่านทางทั้งหมด และให้เลือกช่องทางชำระเงิน
หากมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าผ่านทาง ระบบจะยกมาตรการที่เข้มข้นขึ้น และมีโทษฝ่าฝืน พ.ร.บ. ทางหลวง มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท (ระบบจะอนุโลมโทษให้เฉพาะบุคคลที่ชำระค่าผ่านทางไม่เกิน 2 วันเท่านั้น)
ใช้ทาง M-FLOW ต้องจ่ายเงินภายในกี่วัน?
หลังจากใช้บริการ M-FLOW แล้ว ต้องชำระเงินภายใน 2 วัน
M-FLOW ถ้าไม่จ่ายเงินเสียค่าปรับเท่าไร?
หลังจากระยะเวลา 12 วัน เป็นต้นไป จะต้องจ่ายทั้งหมดเท่ากับ ค่าผ่านทาง 30 บาท + ค่าเสียหาย 2 เท่าหรือ 60 บาท + ค่าปรับ 10 เท่า หรือ 300 บาท + ค่าปรับ 200 บาท รวมเป็นเงิน 590 บาท การติดตามทวงถาม เมื่อเลยวันที่ครบกำหนด 12 วัน ระบบจะแจ้งเตือนติดตามทวงถามค่าผ่านทาง ผ่าน SMS/E-mail/ Push Notification)
นอกจากนี้ M Flow ยังมีระดับมาตรการที่เข้มข้น สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนเลยกำหนดชำระ 12 วัน เป็นต้นไป ดังนี้
- ดำเนินการตามขั้นตอนของประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
- บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- มาตราการขึ้นบัญชีดำ
- การเรียกให้ชำระค่าผ่านทางและค่าปรับในขั้นตอนการชำระภาษีรถยนต์ประจำปี
Cr : autospinn